ทักษะการอ่าน (Reading Skills)
ความหมาย

       การอ่าน คือ การรู้ สังเกตและทำความเข้าใจความหมายของทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา

ความสำคัญ

           - ช่วยสร้างองค์ความรู้

           - ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์

           - ช่วยส่งเสริมความคิด

           - ช่วยหาคำตอบ


วัตถุประสงค์ของการอ่าน

           1. จับ “สาร” (message)

           2. จับ “สาระสำคัญ” (key message)

           3. ทำความเข้าใจ (to understand)

           4. คิด - วิเคราะห์, สังเคราะห์, สร้างสรรค์, จินตนาการ (to think)

           5. ตั้งคำถาม - ใคร ทำอะไร ทำไม ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

          6. เรียนรู้ (to learn)

           7. นำไปใช้ประโยชน์ (Apply)
 

ลักษณะการอ่านที่ดี

           1. สร้างนิสัยรักการอ่าน

           2. ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่าน

           3. เลือกบรรยากาศที่เหมาะสม

           4. มีสมาธิในการอ่าน เงียบเสียงต่างๆ

           5. จับใจความสำคัญให้ได้

           6. ใช้เทคนิคการอ่านเข้ามาช่วย
 

เทคนิคการอ่านแบบ 3 จ. (จดจ่อ, จดจำ, จดบันทึก)

           1. จดจ่อ (concentrate) ในสิ่งที่อ่าน

                   - Skim คือ การอ่านแบบผ่านๆ กวาดตาไปทั่วๆ

                   - Scan คือ การอ่านแบบเจาะ เล็งหาส่วนที่ต้องการ

                   - Skim & Scan คือ การอ่านผ่านแล้วค่อยอ่านเจาะ

                   - Intensive คือ การอ่านพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียด

           2. จดจำ (remember) สาระสำคัญที่ได้

           3. จดบันทึก (record) สิ่งที่อ่าน เช่น ใจความสำคัญ แนวคิด แนวปฏิบัติ ข้อคิด ความรู้ ภูมิปัญญา

 

เทคนิคการอ่านแบบ PANORAMA โดย Peter Edwards

(ขั้นเตรียม, ขั้นอ่าน, ขั้นสรุป)

1. ขั้นเตรียม (Preparation Stage)

           1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย (P = Purpose)

                   กำหนดจุดมุ่งหมายในการอ่านโดยตอบคำถามว่า “ฉันกำลังอ่านเรื่องนี้เพื่ออะไร”

           1.2 การปรับความเร็ว (A = Adaptation rate to material)

                   ปรับความเร็วโดยดูจุดมุ่งหมายและความยากง่ายของเรื่องที่อ่าน

           1.3 ความจำเป็นในการตั้งคำถาม (N = Need to pose question)

ตั้งคำถามโดยเปลี่ยนชื่อเรื่อง หัวเรื่องหรือบางข้อความ เป็นคำถามและพยายามอ่านเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามนั้นๆ

2. ขั้นอ่าน (Intermediate Stage)

           2.1 การสำรวจ (O = Overview)

                   อ่านโดยสังเกตลักษณะข้อความที่อ่าน หัวข้อ บทสรุป เพื่อทราบแนวคิดของผู้แต่ง

           2.2 การคิดตาม (R = Read and relate)

อ่านโดยพยายามตอบคำถามที่ตั้งไว้ จับความคิดหลักและเรื่องราวต่างๆ เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของตนเอง เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น

           2.3 การจดบันทึก (A = Annotate)

บันทึกสิ่งที่น่าสนใจ โดยอาจใช้เป็นเครื่องหมายหรือข้อความเพื่อช่วยจำก็ได้

3. ขั้นสรุป (Concluding Stage)

           3.1 การจำ (M = Memorize)

ทบทวนความจำจากการบันทึก โดยแยกจุดสำคัญของเรื่องให้เป็นระบบ เพื่อสะดวกแก่การนำมาใช้ใหม่เมื่อต้องการ

           3.2 การประเมินผล (A = Assess)

อภิปรายเรื่องราวที่อ่านเพื่อประเมินว่า “อ่านได้ตรงตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ?”

“เก็บข้อมูลสำคัญเพื่อแปลความหมาย ตีความ ขยายความและสรุปความได้หรือไม่ ?”


แหล่งที่มา:https://thaiforcommunication.weebly.com